วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการถ่ายภาพ









































การถ่ายภาพทิวทัศน์ (Land and SeScape)
นักถ่ายภาพสมัครเช่นนิยมถ่ายภาพประเภทนี้มาก เพราะสามารถถ่ายได้ง่าย สะดวก ถ่ายได้ทุกหนทุกแห่งที่มีโอกาสผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นทิวทัศน์ป่าเขาลำเนาไพร น้ำตก หรือท้องทะเลก็ตาม อย่างน้อยผู้ถ่ายภาพก็สามารถเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกถึงความหลักการถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรถ่ายขณะที่ท้องฟ้าแจ่มใส จะได้ภาพสวยงาม ชัดเจน ถ้าอากาศมืดครึ้มหรือฝนตก ภาพที่ได้จะมีสีทึบ ขาดรายละเอียด การบันทึกความสวยงามของลักษณะภูมิประเทศตามธรรมชาติดังกล่าว จะมีคุณค่าและความสวยงามนั้น ควรต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบที่ช่วยสร้างเรื่องราวให้เกิดขึ้นพยายามเลือกมุมกล้องที่แปลกตา คอยจังหวะให้มีลักษณะแสงสีที่สวยงาม สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ดูเกิดอารมณ์คล้อยตาม เช่น ภาพที่มีหมอกในฤดูหนาว ควัน ฝนตหรือพายุ ฯลฯ บรรยากาศ แสงสีในเวลาเข้ามืดก่อนจะสว่าง หรือในตอนเย็นพระอาทิตย์กำลังจะตกจะมีแสงสีที่ให้ความรุนแรงมีสีน้ำเงิน ม่วง เหลือง แสดและแดงสลับกับก้อนเมฆรูปร่างต่าง ๆ ดูสวยงาม การถ่ายภาพทิวทัศน์นิยมเปิดช่องรับแสงให้แคบเพื่อช่วยให้ภาพมีความคมและชัดลึกตลอด แม้บางครั้งจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ สำหรับเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ นอกจากเลนส์ธรรมดาติดกล้องแล้ว ควรมีเลนส์มุมกว้างและเลนส์ถ่ายภาพไกลที่มีขนาดความยาวโฟกัสประมาณ 105 มม. หรือ 250 มม. เพื่อช่วยให้ได้ภาพที่มีมุมแปลกตาดีขึ้น ถ้าเป็นการถ่ายภาพขาว – ดำ ควรมีแผ่นกรองแสงสีเหลือ สีส้ม หรือสีแดงติดไปด้วย เพราะฟิลเตอร์สีดังกล่าวจะช่วยให้ภาพขาว – ดำ มองเห็นก้อนเมฆขาวตัดกับท้องฟ้า ส่วนการถ่ายภาพสีก็ควรมีแผ่นกรองแสงตัดหมอกหรือแผ่นกรองแสงโพลาไรซ์เป็นอย่างน้อย นอกจากนั้นอาจใช้แผ่นกรองแสงสำหรับเปลี่ยนแปลงสีของภาพเพื่อให้ได้ภาพทิวทัศน์ที่มีสีสันสวยงามแปลกตายิ่งขึ้น



การถ่ายภาพระยะใกล้ (Close up)
การถ่ายภาพระยะใกล้เป็นการถ่ายภาพวัตถุสิ่งของที่มีขนาดเล็กหรือเลือกถ่ายภาพเฉพาะบางส่วนของวัตถุ
ในระยะใกล้ให้มองเห็นส่วนละเอียดต่าง ๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ถ่ายภาพเหรียญ แมลง ลายไม้ ดอกไม้
หรือวัตถุสิ่งของที่มีขนาดเล็กต่าง ๆ

การถ่ายภาพระยะใกล้ต้องมีอุปกรณ์ดังนี้
1. กล้องถ่ายภาพ นิยมใช้กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยว ซึ่งจะไม่เกิดความเหลื่อมขณะมองภาพที่ช่องเล็งภาพ
2. เลนส์ที่ใช้ควรเป็นเลนส์แมโคร (Macro) แต่ถ้าสีเลนส์มาตรฐานก็สามารถใช้เลนส์ถ่ายใกล้ (Close – up
lens) ชนิดสวมใส่หน้าเลนส์แบบแผ่นกรองแสง (Filter) ทั่วไป หรืออาจใช้กระบอกต่อ (Extension tube)
หรือใช้ส่วนพับยืด (Bellow) ต่อคั่นระหว่างเลนส์กับตัวกล้อง
3. ขาตั้งกล้อง
4. สายไกชัตเตอร์
การปรับหาระยะความคมชัดของการถ่ายภาพแบบนี้ค่อนข้างยาก เพราะเลนส์มีช่วงความชัดสั้นมาก ระยะหน้า
และระยะหลังของวัตถุจะพร่ามัว ดังนั้น ควระปิดรูรับแสงให้แคบเพื่อให้ภาพที่ได้มีความชัดลึก



การถ่ายภาพดอกไม้
ภาพดอกไม้จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะ รูปทรง รูปร่าง และสีสันที่สวยงาม สามารถเน้นให้เห็นลวดลายของกลีบดอกตลอดจนแนวเส้นของกิ่งก้านช่วยให้ภาพมีความงดงาม
โดยเฉพาะการถ่ายภาพดอกไม้ในระยะใกล้จะให้สีตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ป่าหรือดอกไม้ที่ปลูกไว้ตามบ้านเรือน เวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพดอกไม้
้ควรเป็นเวลาเช้า เพราะดอกไม้จะให้ความรู้สึกสดชื่น หากมีหยดน้ำค้างเกาะอยู่ตามกลีบดอกหรือหาน้ำหวานหรือน้ำผึ้งหยอดลงบนดอกไม้ เพื่อล่อให้ผึ้งหรือแมลงมาตอมก็จะได้ภาพที่สวยงามเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น แสงที่ใช้ในการถ่ายภาพดอกไม้ควรเป็นแสงธรรมชาติโดยจัดให้แสงเข้าทางด้านข้าง ถ้าเป็นดอกไม้ชนิดที่ควรเน้นให้เห็น
ลักษณะความบางและโครงสร้างของกลีบดอก ควรให้แสงส่องจากด้านหลังของดอกไม้และจัดให้พื้นหลังมีสีค่อนข้างเข้ม และต้องระวังอย่าให้แสงทวนเข้าที่หน้าเลนส์ของกล้อง
การถ่ายภาพดอกไม้ ควรต้องใช้ขาตั้งกล่าวเพื่อช่วยในการปรับประยะความคมชัดที่แน่นอน พยายามจัดมุมกล้อง เพื่อหลีกเลี่ยงฉากหลังที่รกรุงรัง หรือแก้ไขโดยใช้กระดาษสีเทา
หรือสีดำไปวางไว้ทางด้านหลังของดอกไม้ โดยใช้สีของกระดาษให้ตัดกับสีของดอกไม้
เพื่อความเด่นชัดหรืออาจใช้วิธีเปิดช่องรับแสงให้กว้างเพื่อจะได้ฉากหลังที่พร่ามัว
อาจใช้เลนส์ถ่ายไกลหรือเลนส์ซูมก็จะช่วยให้ได้ภาพดอกไม้ที่มีลักษณะเด่นชัดเฉพาะ สวยงามอีกแบบหนึ่ง



การถ่ายภาพเวลากลางคืน (Night Picture)


การถ่ายภาพเวลากลางคืน ได้แก่ การถ่ายภาพที่อาศัยแสงสว่างจากไฟฟ้าตามท้องถนน ป้ายนีออนโฆษณา น้ำพุ การยิงพลุ ห้องโชว์สินค้า ไฟประดับในวันเฉลิมฉลองต่าง ๆ แสงไฟจากรถยนต์ แสงเทียน สายฟ้าแลบ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า
ความสวยงามต่าง ๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในเวลาค่ำคืนดังกล่าว เราสามารถบันทึกภาพที่งดงามเหล่านั้นด้วยกล้องถ่ายภาพ
ได้เช่นเดียวกับการถ่ายภาพในเวลากลางวัน การถ่ายภาพในเวลากลางคืนนั้นต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นดังนี้

1. กล้องถ่ายภาพชนิดที่มีความเร็วชัตเตอร์ B หรือ T
2. ขาตั้งกล้อง
3. สายไกชัตเตอร์
4. นาฬิกาจับเวลา
5. ไฟฉายดวงเล็ก ๆ
6. สมุดบันทึกสำหรับจดรายละเอียด เช่น เวลาในการเปิดหน้ากล้อง

แสงสว่างจากหลอดไฟต่าง ๆ ในเวลากลางคืนนั้น เราจะวัดแสงลำบากและไม่แน่นอนจึงควรใช้ประสบการณ์ที่ได้ทดลอง
ถ่ายและจดบันทึกรายละเอียดไว้ในแต่ละครั้งมาพิจารณา ปกติจะถ่ายภาพด้วยการตั้งความเร็วไว้ที่ B หรือ T แล้วนับเวลา
(Time exposure) ใช้เวลาในการเปิดม่านชัตเตอร์ เป็นวินาทีหรือนาทีก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะและปริมาณของแสง
ในขณะที่ถ่ายภาพ เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการเปิดม่านชัตเตอร์ จึงจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเพื่อป้องกันกล้องเคลื่อนที่
และสั่นไหว ขาตั้งกล้องควรเป็นชนิดที่แข็งแรงมีที่สำหรับปรับมุมยกหน้ากล่องขึ้นและลงได้ และสามารถหมุนกล้องไปทางซ้าย
และขวาที่เรียกว่า Pan กล้องได้ ซึ่งเราจะได้ถ่ายภาพออกมามีลักษณะและสีสันที่แปลกออกไปอีกแบบหนึ่งส่วนเลนส์ที่ใช้
หากเป็นเลนส์ที่สามารถซูมภาพได้ ก็ยิ่งจะได้ภาพที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกนอกจากใช้ฟิล์มขาว–ดำ ถ่ายภาพไฟในเวลากลางคืน
ได้แล้ว อาจใช้ฟิล์มเนกาทิฟสีหรือสไลด์สีก็ได้ ซึ่งจะได้ภาพที่มีสีสวยงามยิ่งขึ้น การเลือกใช้ฟิล์มสไลด์สีขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราจะถ่าย
เช่น การถ่ายภาพไฟตามถนน ป้ายนีออนโฆษณา ไฟประดับ ก็ควรใช้ฟิล์มแสงแดด (Day Light) ภาพที่ได้จะมีสีค่อนข้างเหลือง
อาจใช้ฟิลเตอร์สีฟ้าสวมหน้าเลนส์เพื่อแก้สีก็ได้ ถ้าเป็นภาพการแสดงบนเวที งานประเพณีต่าง ๆ ควรใช้ฟิล์มที่มีควาไวแสงสูง
เช่น 200 ISO, 400 ISO เพื่อให้สามารถจับภาพเคลื่อนไหวได้ ส่วนภาพดวงจันทร์หรือดวงดาวควรใช้ฟิล์มที่ใช้กับแสง
ไฟทังสเตน จะได้สีที่ถูกต้องยิ่งขึ้น สำหรับการเลือกใช้ความไวแสงฟิล์ม การเปิดหน้ากล้องและเวลาในการถ่ายภาพ ลักษณะของแสงไฟจากแหล่งต่าง ๆ ในเวลากลางคืนนั้นได้มีบันทึกไว้เป็นแนวทางดังนี้



การถ่ายภาพสัตว์ (Pets & Animals)

การถ่ายภาพสัตว์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

1. การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงในบ้าน สัตว์ที่เลี้ยงในบ้าน เช่น สุนัข แมว นก ปลา แต่ละชนิดก็มีรูปร่างลักษณะ สีสัน กิริยาท่าทาง และนิสัยที่แตกต่างกันออกไป เป็นสัตว์ที่น่ารักทั้งสิ้น สามารถเลือกมุมถ่ายภาพให้มีความสวยงามและน่ารักได้ พยายามใช้ความรวดเร็วในการจับภาพในจังหวะที่น่าประทับใจต่าง ๆ

2. การถ่ายภาพในสวนสัตว์ ในสวนสัตว์จะเป็นที่รวมของสัตว์หลายชนิด ซึ่งมาจากทั่วทุกมุมโลก การถ่ายภาพสัตว์ในส่วนสัตว์ควรไปถ่ายภาพในตอนเช้า ที่อากาศไม่ร้อน สัตว์จะมีอารมณ์ดี โดยเฉพาะเวลาให้อาหารสัตว์เป็นเวลาที่เหมาะที่สุดในการถ่ายภาพ เพราะสัตว์จะแสดงกิริยาต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพ ผ่านลูกกรงเหล็ก หรือรั้วกัน ควรเปิดช่องรับแสงของเลนส์ให้กว้าง ให้กล้องหากจากลูกกรงประมาณครึ่งเมตร ลูกกรงหรือรั้วกั้น จะพ้นระยะชัดเกิดความพร่ามัว ทำให้มองเห็นเฉพาะภาพสัตว์และยังช่วยหลบฉากหลังที่รกรุงรังให้หายไปได้อีกด้วย
กล้องที่ใช้ถ่ายภาพสัตว์ ควรใช้กล้องแบบ 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยว โดยใช้เลนส์ซูมหรือเลนส์ถ่ายระยะไกล้ 135 มม. – 250 มม. เพื่อให้สามารถดึงภาพให้มีขนาดใหญ่ได้ ส่วนฟิล์มควรใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง 250 ISO หรือ 400 ISO

3. การถ่ายภาพสัตว์ป่า เป็นการออกไปถ่ายภาพสัตว์ในป่าเขาตามธรรมชาติ ซึ่งในบ้านเมืองเราคงหาโอกาสได้ยาก เพราะไม่ค่อยมีสัตว์ป่าให้ได้เห็นกัน จะมีบ้างก็พวกเก้ง กวาง ในป่าสงวนบ้างแห่งเท่านั้น การรอบถ่ายภาพสัตว์ป่า จำเป็นต้องถ่ายจากบังไพร หรือซุ้มไม้มิดชิดเพื่อไม่ให้สัตว์มองเห็นและกลัว ควรต้องศึกษาแหล่งที่พักหลับนอน แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำของสัตว์อย่างน้อยจะทำให้มีโอกาสการถ่ายภาพได้ง่ายเข้า อุปกรณ์ที่จำเป็นที่สุดในการถ่ายภาพสัตว์ป่าคือเลนส์ระยะไกล มีความยาวโฟกัสสูง ไม่ต่ำกว่า 400 มม. – 1200 มม. หรือใช้ Teleconverter 2X เพื่อช่วยให้สามารถถ่ายภาพในระยะไกล ๆ ได้ กล้องควรตั้งบนข้างตั้งใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูง จะได้ภาพที่มีความคมชัด แน่นอน



การถ่ายภาพย้อนแสง (Silhouete)
การถ่ายภาพย้อนแสงหรือภาพเงาดำ ภาพประเภทนี้นักถ่ายภาพสมัครเล่นไม่ค่อย
ให้ความสนใจ เพราะจะได้ภาพที่ไม่ชัด ไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ ถ้าถ่ายภาพ
คนจะมองดูแล้วมืด แต่ที่จริงแล้วภาพย้อนแสงไม่ว่าจะเป็นภาพสี หรือขาว–ดำ
ก็ตามจะช่วยให้เราเรียนรู้เรื่องรูปร่าง (Shape) ของวัตถุที่บังแสงอยู่ นักถ่ายภาพ
อาชีพมักจะเสาะแสวงหาภาพประเภทนี้อยู่เสมอ เพราะภาพย้อนแสงจะให้ทั้งความงาม
ให้อารมณ์ ให้สีสันรุนแรง ให้ความแปลกตาไปอีกลักษณะหนึ่งการถ่ายภาพย้อนแสง
ควรถ่ายให้ภาพมีช่วงความชัดลึก โดยเปิดช่องรับแสงให้แคบกว่าปกติเล็กน้อย
พยายามเลือกวัตถุที่มีโครงร่างที่สวยงามหามุมย้อนแสง โดยวางจังหวะของดวงอาทิตย์ให้พอดี


การเขียนภาพด้วยแสงไฟ
การถ่ายภาพแบบให้แสงไฟสีต่าง ๆ ต้องใช้ห้องที่มืดสนิทโดยมีฉากผ้าหรือกระดาษสีดำ แสงไฟสีทำได้โดยใช้ไฟฉายธรรมดาขนาดเล็ก หุ้มกระดาษแก้วสีต่าง ๆ ตามความต้องการ จัดตั้งไฟแฟลชให้ส่องตรงไปยังแบบ แบะอาจใช้แฟลชอีก 1 ดวง ติดสนูท (Snoot) เป็นกรวยบีบแสง ให้ส่องตรงไปเฉพาะจุดที่ผมเพื่อมิให้ตัวแบบกลืนไปกับความมืดของฉากหลัง
เมื่อจัดฉากเรียบร้อยแล้วให้แบบยืนแสดงท่าตามต้องการ ให้ผู้วาดเส้น แสง สี คลุมพาดดำถือไฟฉายหุ้มกระดาษแก้วสี ยืนด้านหลังของแบบกล้องถ่ายภาพต้องตั้งบนขาตั้งกล้อง เปิดความเร็วชัตเตอร์ที่ B ส่วนช่องรับแสงตั้งไว้ที่ f11 เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ให้กด ชัตเตอร์ ผู้วาดเส้นจะเริ่มเปิดไฟฉายวาดแสงสีต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ใช้กระดาษแก้วสีแดงวาด 15 วินาที แล้วเปลี่ยนกระดาษแก้วเป็นสีฟ้า 10 วินาที กระดาษแก้วสีเหลืองอีก 5 วินาที หลังจากนั้นผู้วาดแบบจะออกมาจากฉากเปิดไฟแฟลช 1 ครั้ง แล้วปิดชัตเตอร์จะได้ภาพตามต้องการ
ส่วนภาพแสงเทียนประกอบกับดอกไม้ไฟนั้น ก็จัดฉากให้เป็นสีดำ จัดแบบเทียนไขสีต่าง ๆ ให้ได้ขนาดตามต้องการ ตั้งบนแผ่นไม้รองเทียนที่มีขาตั้งสีดำกลมกลืนกับความมืด กล้องถ่ายภาพตั้งบนขาตั้งกล้อง เปิดความเร็วชัตเตอร์ที่ B ช่องรับแสงเปิดที่ f11 เมื่อเรียบร้อยแล้ว จุดเทียนไขกดชัตเตอร์ใช้เวลาประมาณ 5 วินาที จากนั้นให้ผู้ช่วยที่คลุมผ้าดำ จุดดอกไม้ไฟวนไปมารอบเทียนไขอีกประมาณ 3 – 5 วินาที แล้วปิดชัตเตอร์


การถ่ายภาพเคลื่อนไหว (Action)
การถ่ายภาพเคลื่อนไหว หมายถึง การถ่ายภาพของวัตถุที่เคลื่อนไหว เช่น คนวิ่ง กระโดดโลดเต้น เล่นชิงช้ากระโดดสูง
ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน รถกำลังแล่น หรือการแข่งขันกีฬาด้านความเร็วประเภทต่าง ๆ การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว
ดังกล่าวอาจจะทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ

1. การจับภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง (Stop – action) การถ่ายภาพในลักษณะนี้ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้สูง
เช่น 1/250, 1/500 หรือ 1/1000 วินาที ตามความเหมาะสมกับความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์
สูง ๆ จำเป็นต้องเปิดช่องรับแสงให้กว้างขึ้น เพื่อชดเชยให้แสงผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยากับฟิล์มให้มากพอ
การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้นั้น จะตั้งความเร็วชัตเตอร์เท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1) ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว
2) ทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ
3) ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุ
4) ความยาวโฟกัสของเลนส์

2. การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวดูแล้วให้รู้สึกว่าเหมือนกำลังเคลื่อนไหว การถ่ายภาพในลักษณะนี้ ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์
ให้ช้า ๆ เช่น 1/30 วินาที, 1/15 วินาที หรือ 1/8 วินาที เป็นต้น เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็ต้องเปิดช่องรับแสงให้เล็กลง
ภาพที่ได้จะปรากฏว่าสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวจะดูพร่า ทำให้เห็นว่าวัตถุนั้นกำลังเคลื่อนที่ส่วนวัตถุหรือสิ่งที่อยู่นิ่งจะคมชัด
และการถ่ายภาพลักษณะนี้ควรจับถือกล้องให้นิ่งและมั่นคง หรือควรใช้ขาตั้งกล้องช่วย เพื่อไม่ให้กล้องสั่นไหว

3. การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้เห็นวัตถุชัด ส่วนฉากหลังพร่ามัวเป็นทางยาว การถ่ายภาพในลักษณะนี้ จะต้อง
แพนกล้อง (Paning) ตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว พร้อม ๆ กับการกดไกชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์ความตั้งให้ช้า เช่น
1/60วินาที,1/30วินาทีหรือช้ากว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุที่ เคลื่อนที่ด้วยการปรับระยะชัดให้ปรับไปตรงจุดที่วัตถุ
เคลื่อนที่ผ่าน



การถ่ายภาพหุ่นนิ่ง (Still life)

การถ่ายภาพหุ่นนิ่ง หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เช่น แจกันดอกไม้ ถ้วยจานช้อนซ้อม ขวดเหล้า เบียร์ แก้ว บุหรี่ น้ำหอม เสื่อผ้า รองเท้า ผัก ผลไม้ อาหาร ฯลฯ จุดมุ่งหมายส่วนใหญ่ก็เพื่อนำภาพไปจัดทำเป็นสื่อในการโฆษณา เช่น ทำปกหนังสือ วารสาร โปสเตอร์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
การฝึกถ่ายภาพหุ่นนิ่ง จะช่วยให้เราได้เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆในการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะวัตถุสิ่งของต่าง ๆที่นำมาถ่ายภาพจะอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวเราสามารถทดลองจัดภาพได้หลาย ๆแบบตามต้องการ ส่วนการใช้แสงก็ทำได้หลายลักษณะ อาจใช้แสงธรรมชาติ แต่ส่วนมากมักใช้แสงไฟประดิษฐ์ เพราะสามารถควบคุมทิศทางตลอดจนปริมาณของแสงสว่างได้ตามความเหมาะสม

ขั้นตอนการถ่ายภาพหุ่นนิ่ง
1. จัดสถานที่ได้แก่ โต๊ะชุดสำหรับถ่ายภาพหุ่นนิ่งประกอบด้วยขาตั้งเหล็ก หรืออลูมิเนียมมีแผ่นพลาสติกสีต่าง ๆ เช่นสีขาว ดำ น้ำเงิน และม่วง เป็นที่วางวัตถุที่จะถ่ายภาพ ผิวหน้าของแผ่นพลาสติกมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งผิวด้าน ส่วนอีกด้านหนึ่งผิวจะมัน คุณสมบัติของแผ่นพลาสติก คือถ้าใช้ไฟส่องด้านบนจะได้แสงตกกระทบธรรมดา แต่ถ้าใช้ไฟส่องจากด้านล้าง แสงจะสามารถทะลุพื้นพลาสติกขึ้นด้านบนสามารถใช้เป็นแสงสำหรับลดเงา หรือใช้เป็นแสงส่องจากพื้นล้างและด้านหลังของวัตถุ

2. ออกแบบ สเก็ตภาพ (lay – out) การจัดวางองค์ประกอบของวัตถุ ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานเข้าใจรูปแบบและแนวคิด สามารถจัดหาวัตถุประกอบฉาก ตลอดจนการจัดภาพได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น

3. จัดหาวัตถุ สิ่งของ ที่จะถ่ายภาพ ถ้าเป็นประเภทผัก ผลไม้ ควรเตรียมไว้ให้มากพอ คอยฉีดน้ำดูแลให้สดอยู่เสมอ

4. นำวัตถุสิ่งของที่จะถ่าย วางบนโต๊ะถ่ายภาพ โดยจัดวางตามแบบที่สเกตภาพไว้

5. ทดลองจัดแสง ซึ่งอาจใช้หลอดไฟทังสเตน ถ้าเป็นการถ่ายภาพชิ้นเล็ก ๆ ก็ใช้สปอตไลท์ 500 วัตต์ 2-3 ดวงแต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพขนาดใหญ่ ก็ต้องใช้ไฟที่มีกำลังวัตต์สูง ๆ เช่น 2000 วัตต์ถึง 5000 วัตต์ โดยใช้ผ่านแผ่นกรองแสงเพื่อให้ได้แสงที่นุ่มนวล ใช้แผ่นสะท้อนแสงลดเงาและอาจใช้ไฟส่องฉากหลัง เพื่อเน้นวัตถุให้เห็นเด่นชัดในปัจจุบันนิยมใช้แฟลชอิเลคทรอนิคส์ มีอุปกรณ์ เช่น ร่มสะท้อนแสง จานสะท้อนแสง ประตูโคม (Barn doors) กรวยแสง (Snoot) ซึ่งจะให้ความสะดวก สามารถบังคับทิศทางและปริมาณของแสงได้ตามต้องการ

6. กล้องสำหรับถ่ายภาพหุ่นนิ่ง ถ้าไม่จำเป็นต้องนำภาพไปขยายให้ใหญ่มาก ก็อาจใช้กล้อง ขนาด 35 มม.แต่ถ้าต้องการขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ ก็ควรใช้กล้องขนาดกลางที่ใช้ฟิล์มขนาด 4” x 5” กล้องถ่ายภาพต้องตั้งบนขาตั้งกล้องให้มั่นคง เพราะการถ่ายภาพหุ่นนิ่งต้องการภาพที่ละเอียดชัดเจน และชัดลึกจึงต้องเปิดช่องรับแสงให้แคบมาก ๆ เช่น f16 ฉะนั้นความเร็วชัตเตอร์ จะต้องช้ามากเพื่อให้สัมพันธ์กับขนาดช่องรับแสง


การถ่ายภาพเด็ก
การถ่ายภาพเด็กเป็นการบันทึกภาพความไร้ เดียงสา ความน่ารัก ความบริสุทธิ์ตลอดจนความสนุกสนานร่าเริง ไว้ในแผ่นภาพ ลักษณะธรรมชาติของเด็กนั้นมักไม่ชอบอยู่นิ่งและ ชอบซุกซนตลอดเวลา ฉะนั้นก่อนถ่ายภาพควรให้เด็กได้เล่นอยู่กับของเล่น
ที่ถูกใจเล่นกับสัตว์ เลี้ยง หรือทำความสนิทสนมกับเด็ก เล่าเรื่องสนุกสนาน ทำท่าทางตลกและชักชวนให้เด็กทำสิ่งที่เขาชอบ ผู้ถ่ายภาพต้องคอยกดไกชัตเตอร์ในจังหวะที่เด็กกำลังอยู่ในท่าทางและอารมณ์ ที่เป็นตัวของตัวเองตามธรรมชาติมากที่สุด
การถ่ายภาพเด็กไม่ควรบังคับ เด็กของตัวเองให้ตั้งทางต่าง ๆ ซึ่งจะได้ภาพที่แข็งไม่เป็นชีวิตจริง เสียลักษณะความเป็นธรรมชาติ แต่ควรบันทึกพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเขาไว้ เช่น การเรียนการเล่นหรือแม้แต่กำลังร้องไห้น้ำตาไหลภาพต่าง ๆ เหล่านี้ อาจแสดงให้เห็นถึงความซุกซน ความดื้อรั้น และอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะให้ความน่ารักความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ภาพ
ถ่ายที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ ควรใช้การถ่ายภาพทีเผลอ (Candid photography) หมายถึง การแอบถ่ายโดยใช้แสงธรรมชาติ
ไม่ควรใช้ไฟแฟลช เพราะแสงไฟจะทำให้เด็กรู้สึกตัว อาจทำให้พลาดโอกาสที่ดีได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

My song